โดยทั่วไปแล้วหลักๆของสีบนตราครุฑ จะถูกจำแนกออกเป็น 3 สี โดยมี สีแดง สีดำ และ สีเขียว โดยที่แต่ละสีนั้นมีความสำคัญ และหน้าที่ของมันที่แตกต่างกัน ดังนี้
ครุฑแดง
ถูกใช้บนโฉนดที่ดิน น.ส.4 เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจนที่สุด ซื้อขายได้ โอนได้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็อย่างที่ ๆ เราส่วนใหญ่มีครอบครองกันก็เป็นอันนี้แหละ ที่ในเมืองเกือบทั้งหมดก็จะเป็น “ครุฑแดง” ตัวนี้กันทั้งนั้น ส่วนโฉนดหลังแดงก็คือเอกสาร น.ส.4 ที่จะมีการระบุด้านหลังโฉนดว่าห้ามโอนภายในระยะเวลา 5-10 ปี
ต่อไปก็จะเป็นจำพวก หนังสือแสดงการทำประโยชน์ หรือ น.ส.3 จะเป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ที่ออกโดยกรมประชาสงเคราะห์นะครับ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 เป็นการจัดที่ดินในรูปนิคมสหกรณ์ ให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกไม่เกินครอบครัวละ 50 ไร่ โดยสีครุฑที่ใช้บนหนังสือแสดงการทำประโยชนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ครุฑดำ
จะถูกใช้บนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ประเภท น.ส.3 และ น.ส.3 ข. โดยที่สองสองประเภทนี้นั้นมีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอย ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินที่แน่นอน หรือออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศนั้นเอง
ครุฑเขียว
จะถูกใช้บนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ประเภท น.ส.3 ก. เท่านั้น ซึ่ง น.ส.3ก. ใช้เมื่อมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยวิธีกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ